Sponsored
  • #ลมประจำถิ่นของไทย | ชื่อคุ้นๆ แปลกๆ ทั้งนั้น เป็นลมที่คนไทยรู้จักและเรียกกันมาแต่โบราณตามชนบทท้องถิ่น
    .
    #ฤดูหนาว
    #ลมว่าว ลมเย็นที่พัดจากทางเหนือมาตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาไปยังทิศใต้ พัดระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน (ต้นฤดูหนาว) บางที่เรียก ลมข้าวเบา เพราะเป็นเวลาเก็บเกี่ยวข้าวเบาได้พอดี
    #ลมตะเภา หรือ ลมสำเภา พัดจากอ่าวไทยขึ้นเหนือไปตามที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน (ปลายฤดูหนาว-ต้นฤดูร้อน) ลมตะเภาจะพัดแรงในเวลากลางวันเนื่องจากพัดมาสมทบกับลมทะเล ส่วนกลางคืนจะพัดอ่อน เพราะมีลมบกต้าน
    .
    #หมายเหตุ : หลายคนมักเข้าใจผิดว่าลมตะเภาเป็นลมว่าว เพราะในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ลมตะเภากำลังพัดนั้น วัฒนธรรมของคนไทยนิยมเล่นว่าว
    .
    #ฤดูร้อน
    #ลมอุกา พัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน (ต้นฤดูร้อน)
    #ลมบ้าหมู เป็นลมหมุนเป็นวงขึ้นไปในอากาศ เกิดบนบก โดยมีผงฝุ่นและเศษสิ่งของต่างๆ ปลิวหมุนขึ้นไปด้วย มักเกิดในฤดูร้อน
    #ลมงวงช้าง #นาคเล่นน้ำ คล้ายกับลมบ้าหมู แต่มีขนาดใหญ่กว่าและเกิดในทะเล เป็นลมหมุนวนเหมือนงวงช้างห้อยลงมาจากเมฆฝน ลงมาจรดหรือแตะผิวน้ำทะเล ทางอุตุนิยมวิทยา เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า #วอเตอร์สเป๊าท์ (water spout)
    .
    #ฤดูฝน
    #ลมพัทยา พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนพฤษภาคม (ต้นฤดูฝน) ซึ่งก็คือลมเดียวกันกับช่วงเริ่มต้น ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
    #ลมตะโก้ พัดจากตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือนตุลาคม (ปลายฤดูฝน)
    #ลมสลาตัน #ลมเพชรหึง พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงปลายฤดูฝน (ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้)
    #ลมประจำถิ่นของไทย | ชื่อคุ้นๆ แปลกๆ ทั้งนั้น เป็นลมที่คนไทยรู้จักและเรียกกันมาแต่โบราณตามชนบทท้องถิ่น . #ฤดูหนาว • #ลมว่าว ลมเย็นที่พัดจากทางเหนือมาตามลุ่มน้ำเจ้าพระยาไปยังทิศใต้ พัดระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน (ต้นฤดูหนาว) บางที่เรียก ลมข้าวเบา เพราะเป็นเวลาเก็บเกี่ยวข้าวเบาได้พอดี • #ลมตะเภา หรือ ลมสำเภา พัดจากอ่าวไทยขึ้นเหนือไปตามที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน (ปลายฤดูหนาว-ต้นฤดูร้อน) ลมตะเภาจะพัดแรงในเวลากลางวันเนื่องจากพัดมาสมทบกับลมทะเล ส่วนกลางคืนจะพัดอ่อน เพราะมีลมบกต้าน . #หมายเหตุ : หลายคนมักเข้าใจผิดว่าลมตะเภาเป็นลมว่าว เพราะในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ลมตะเภากำลังพัดนั้น วัฒนธรรมของคนไทยนิยมเล่นว่าว . #ฤดูร้อน • #ลมอุกา พัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน (ต้นฤดูร้อน) • #ลมบ้าหมู เป็นลมหมุนเป็นวงขึ้นไปในอากาศ เกิดบนบก โดยมีผงฝุ่นและเศษสิ่งของต่างๆ ปลิวหมุนขึ้นไปด้วย มักเกิดในฤดูร้อน • #ลมงวงช้าง #นาคเล่นน้ำ คล้ายกับลมบ้าหมู แต่มีขนาดใหญ่กว่าและเกิดในทะเล เป็นลมหมุนวนเหมือนงวงช้างห้อยลงมาจากเมฆฝน ลงมาจรดหรือแตะผิวน้ำทะเล ทางอุตุนิยมวิทยา เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า #วอเตอร์สเป๊าท์ (water spout) . #ฤดูฝน • #ลมพัทยา พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนพฤษภาคม (ต้นฤดูฝน) ซึ่งก็คือลมเดียวกันกับช่วงเริ่มต้น ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ • #ลมตะโก้ พัดจากตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือนตุลาคม (ปลายฤดูฝน) #ลมสลาตัน #ลมเพชรหึง พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงปลายฤดูฝน (ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้)
    0 Comments 0 Shares 2K Views 0 Reviews
  • แพทย์ผิวหนังเตือนเห็บกัดคน มีอันตราย

    กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เตือนเห็บกัดคนเป็นอันตราย ส่วนใหญ่เห็บอาศัยอยู่กับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขหรือแมว ซึ่งใกล้ชิดกับคน คนจึงมีโอกาสถูกเห็บกัด และเห็บยังเป็นพาหะนำโรคติดเชื้ออีกหลายชนิดด้วย พร้อมแนะวิธีป้องกันและปฏิบัติตนให้ถูกวิธี

    นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากกรณีการเสนอข่าวเด็กหญิงชั้นประถมปีที่ 2 ในจังหวัดสระบุรี พบเห็บทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ จำนวนมาก อัดแน่นภายในรูหูของเด็ก และเกาะดูดเลือดที่หนังศีรษะและภายในรูหู ทำให้เด็กมีอาการปวด คัน ในเบื้องต้นทางโรงเรียนได้นำเด็กส่งให้แพทย์นำเห็บภายในหูออกแล้ว จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า เห็บมักอาศัยอยู่บริเวณต้นหญ้าสูงๆ หรือเกาะอยู่กับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขหรือแมว ผู้ที่ถูกเห็บกัดมักไม่มีอาการเจ็บ เนื่องจากในน้ำลายของเห็บประกอบด้วยสารที่ทำให้เกิดอาการชาเฉพาะที่ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าถูกกัด ผิวหนังบริเวณที่ถูกกัดพบเป็นตุ่มนูนบวมแดง ในบางรายที่เกิดอาการแพ้อาจพบว่ามีไข้ หรือ ผื่นคันชนิดลมพิษ

    แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาทำได้โดยคีบเอาเห็บออก โดยใช้แหนบคีบที่ส่วนหัวของเห็บแล้วค่อยดึงขึ้นตรงๆอย่างนุ่มนวล แต่ต้องระวังอย่าคีบบริเวณลำตัวหรือท้องของเห็บ และไม่บิดคีมขณะที่กำลังคีบเพราะจะทำให้ส่วนปากของเห็บยังคงค้างอยู่ในผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่แบบเรื้อรังตามมาได้ หลังจากเอาตัวเห็บออกไปได้แล้วสามารถรักษาอาการผิวหนังบวมแดงได้ด้วยยาทาลดการอักเสบ ในบางรายที่บวมแดงมากแพทย์อาจพิจารณาใช้การฉีดยาใต้ผิวหนังเพื่อลดอาการ

    ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปแล้วอาการที่เกิดจากเห็บกัดมักเป็นเพียงอาการเฉพาะที่ แต่มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหลังถูกเห็บบางชนิดกัด คือ การเกิดอัมพาตจากการถูกเห็บกัด เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว จากนั้นในระยะเวลาไม่นานจะเกิดเป็นอัมพาต ซึ่งภาวะนี้อาจนำไปสู่ภาวะระบบหายใจล้มเหลวที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาการเป็นอัมพาตจากการถูกเห็บกัดนี้ มักเกิดภายในระยะเวลา 4-6 วันหลังโดนกัด อย่างไรก็ดีภาวะนี้จะดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อคีบเอาเห็บออกจากผิวหนังของผู้ป่วย
    *****************************************
    #กรมการแพทย#สถาบันโรคผิวหนัง #เห็บ #อันตราย
    – ขอขอบคุณ –
    แพทย์ผิวหนังเตือนเห็บกัดคน มีอันตราย กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เตือนเห็บกัดคนเป็นอันตราย ส่วนใหญ่เห็บอาศัยอยู่กับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขหรือแมว ซึ่งใกล้ชิดกับคน คนจึงมีโอกาสถูกเห็บกัด และเห็บยังเป็นพาหะนำโรคติดเชื้ออีกหลายชนิดด้วย พร้อมแนะวิธีป้องกันและปฏิบัติตนให้ถูกวิธี นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากกรณีการเสนอข่าวเด็กหญิงชั้นประถมปีที่ 2 ในจังหวัดสระบุรี พบเห็บทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ จำนวนมาก อัดแน่นภายในรูหูของเด็ก และเกาะดูดเลือดที่หนังศีรษะและภายในรูหู ทำให้เด็กมีอาการปวด คัน ในเบื้องต้นทางโรงเรียนได้นำเด็กส่งให้แพทย์นำเห็บภายในหูออกแล้ว จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า เห็บมักอาศัยอยู่บริเวณต้นหญ้าสูงๆ หรือเกาะอยู่กับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขหรือแมว ผู้ที่ถูกเห็บกัดมักไม่มีอาการเจ็บ เนื่องจากในน้ำลายของเห็บประกอบด้วยสารที่ทำให้เกิดอาการชาเฉพาะที่ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าถูกกัด ผิวหนังบริเวณที่ถูกกัดพบเป็นตุ่มนูนบวมแดง ในบางรายที่เกิดอาการแพ้อาจพบว่ามีไข้ หรือ ผื่นคันชนิดลมพิษ แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาทำได้โดยคีบเอาเห็บออก โดยใช้แหนบคีบที่ส่วนหัวของเห็บแล้วค่อยดึงขึ้นตรงๆอย่างนุ่มนวล แต่ต้องระวังอย่าคีบบริเวณลำตัวหรือท้องของเห็บ และไม่บิดคีมขณะที่กำลังคีบเพราะจะทำให้ส่วนปากของเห็บยังคงค้างอยู่ในผิวหนัง ทำให้เกิดเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่แบบเรื้อรังตามมาได้ หลังจากเอาตัวเห็บออกไปได้แล้วสามารถรักษาอาการผิวหนังบวมแดงได้ด้วยยาทาลดการอักเสบ ในบางรายที่บวมแดงมากแพทย์อาจพิจารณาใช้การฉีดยาใต้ผิวหนังเพื่อลดอาการ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปแล้วอาการที่เกิดจากเห็บกัดมักเป็นเพียงอาการเฉพาะที่ แต่มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหลังถูกเห็บบางชนิดกัด คือ การเกิดอัมพาตจากการถูกเห็บกัด เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว จากนั้นในระยะเวลาไม่นานจะเกิดเป็นอัมพาต ซึ่งภาวะนี้อาจนำไปสู่ภาวะระบบหายใจล้มเหลวที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาการเป็นอัมพาตจากการถูกเห็บกัดนี้ มักเกิดภายในระยะเวลา 4-6 วันหลังโดนกัด อย่างไรก็ดีภาวะนี้จะดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อคีบเอาเห็บออกจากผิวหนังของผู้ป่วย ***************************************** #กรมการแพทย์ #สถาบันโรคผิวหนัง #เห็บ #อันตราย – ขอขอบคุณ –
    0 Comments 0 Shares 2K Views 0 Reviews
Sponsored